วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

สมมุติฐาน


                             การตั้งสมมติฐาน

1. ทำไมเด็กในปัจจุบันถึงมีมารยาทที่ไม่ดี



1. เด็กในปัจจุบันที่มีมารยาทไม่ดีอาจเป็นเพราะค่านิยมแบบผิดๆ หรือทำตามแบบอย่างที่ไม่ดีมากกว่ากัน

สาเหตุที่มา


                                                           คำถาม
                                     ทำไมเด็กในปัจจุบันถึงมีมารยาทที่ไม่ดี
สาเหตุ

มารยาทมรรยาทจริยา หรือ จรรยา หมายถึงแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ถูกวาดเค้าโครงไว้ให้เป็นพฤติกรรมทางสังคม ตามที่กำหนดโดยบรรทัดฐานประเพณีร่วมสมัยภายในสังคม ชนชั้นหรือกลุ่มทางสังคม การประพฤติตามมารยาทจะเป็นที่ยอมรับในสังคม ในทางตรงข้าม การไม่ปฏิบั

      ติตามมารยาทหรือการปฏิบัติผิดแผกไปจากปรกติอาจถูกสังคมครหา มารยาทไม่ได้ติดตัวมาแต่กำเนิด แต่ได้มาจากสิ่งแวดล้อม การศึกษา และการอบรมเป็นสำคัญ [1]
มารยาทเป็นหลักการบ่งบอกว่าสิ่งใดควรกระทำหรือไม่กระทำ และจะกระทำอย่างไรในสถานการณ์ที่กำหนด มารยาทบางข้อก็มีเหตุผลรองรับตัวอย่างเช่น เมื่อพบผู้ใหญ่ก็ต้องสวัสดี เพื่อเป็นการนบนอบ ห้ามนอนกินข้าว เพราะอาจทำให้สำลักอาหาร ห้ามเคาะปากหม้อด้วยจวัก เพราะจะทำให้หม้อข้าวแตก (สมัยโบราณใช้หม้อดินหุงข้าว) รวบช้อมส้อมเมื่อรับประทานเสร็จ เพื่อบ่งบอกให้บริกรทราบและให้เก็บจาน เป็นต้น ในขณะที่บางข้อก็หาคำอธิบายไม่ได้ เช่น ห้ามกางร่มในบ้าน ห้ามกินกล้วยแฝด ห้ามร้องเพลงในครัว เป็นอาทิ แต่หลักมารยาทส่วนใหญ่ตั้งขึ้นตามหลักศีลธรรมเพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข เช่น ไม่ให้ถามอายุ หรือ น้ำหนักของผู้หญิง ไม่ให้ถามเงินเดือน ห้ามรังเกียจหรือว่าผู้อื่นว่ามีกลิ่นตัวหรือกลิ่นปาก เป็นต้น ผู้ไม่ปฏิบัติตามหลักมารยาทจะได้รับการมองจากสังคมว่าไม่เป็นผู้ดี
                                                  
                                                      ที่มา

                            th.wikipeedia.org

มารยาทไม่ดี
  • ในการเข้าคิวซื้อของหรือทำกิจกรรมใดๆ ห้ามแซงคิวเด็ดขาด เราควรรอคิวอย่างสงบเสงี่ยมและอดทน ถ้ามีความจำเป็นรีบด่วนจริงๆ ให้พูดขออนุญาตลัดคิวกับคนที่ยืนอยู่ก่อนทุกคน
  • ในบทสนทนา ไม่ควรถามเรื่องอายุหรือน้ำหนักของสุภาพสตรี
  • ไม่ควรส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่นในที่สาธารณะ
  • ไม่ควรแคะขี้มูก เรอ ผายลมเสียงดังต่อหน้าผู้อื่น แต่ถ้ากลั้นไว้ไม่ได้จริงๆ ก็ต้องพูดว่า “Excuse me”
  • ไม่ควรจ้องใครอย่างตั้งใจ เพราะถือว่าไม่มีมารยาท
  • ในการทักทายครั้งแรก หากไม่สนิทสนมกัน ไม่ควรทักทายด้วยการโอบไหล่ ชนแก้ม
  • ไม่ควร พูดภาษาไทยกันต่อหน้าคนอังกฤษ หรือคนต่างชาติ เพราะถือว่าเป็นการเสียมารยาท ไม่ให้เกียรติ ไม่ให้ความรู้สึกมีส่วนร่วมหรือเป็นมิตรกับเขา
  • ไม่ควรโต้ตอบการสนทนาสั้นๆ เพียง “Yes” หรือ “No” เพราะจะทำให้คู่สนทนารู้สึกอึดอัด และไม่อยากสนทนาด้วย ทำให้เราขาดโอกาสที่จะฝึกฝนการสนทนา
  • ในการรับประทานอาหาร ห้ามใช้มีดจิ้มอาหารเข้าปาก ถือเป็นการเสียมารยาทอย่างมาก

                                                       ที่มา
                             www.oeauk.net


การแก้ไขปัญหามารยาทที่ไม่ดีของเด็กในปัจจุบัน


สังคมทุกวันนี้มีการพูดกันมากขึ้นเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของพ่อแม่ลูกในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงดังเอะอะ ไม่มีมารยาท ชอบแซงคิว ทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง พูดไม่คิด และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทันทีที่มีกระทู้ หรือข้อมูลในลักษณะดังกล่าวเผยแพร่ในชุมชนออนไลน์ ก็มักมีแนวร่วมจำนวนหนึ่งเข้ามาตอกย้ำว่าพฤติกรรมของครอบครัวไทยบางส่วนนั้นเลวร้ายจนเกินเยียวยาจริงๆ
     
       ดังนั้น อาจจะเป็นการดีที่เราจะดูแลครอบครัวของเรา ไม่ให้มีพฤติกรรมแย่ๆ และต้องตกเป็นครอบครัวกลุ่มเป้าหมายที่ถูกยี้จากสังคมรอบข้าง ซึ่งพ่อแม่สามารถเตรียมการก่อนพาลูกออกนอกบ้านได้ดังนี้








ดูแลครอบครัวจาก “วีน เหวี่ยง แซงคิว ไม่มีมารยาท” ในที่สาธารณะ
ขอบคุณภาพจาก news.com.au
        1.วางแผนก่อนเดินทาง
     
       เมื่อมีลูก การออกนอกบ้านควรมีการวางแผน เพราะเด็กเล็กยังต้องการการดูแล การตั้งกฎกติกา และการอบรมสั่งสอนมารยาทสังคมตามสมควร หากพ่อแม่ไม่มีการวางแผนล่วงหน้าเอาไว้ ก็อาจกลายเป็นความปั่นป่วนเล็ก ๆ ขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น จะออกไปซื้อของ พ่อแม่อาจต้องเขียนรายการสิ่งของที่ต้องการซื้อเตรียมเอาไว้ก่อน นอกจากนั้น ก่อนจะไป ควรบอกลูกให้ทราบว่า การเดินทางครั้งนี้เราไปเพื่อซื้อ....ซึ่งจำเป็นต่อครอบครัว และมีสิ่งใดที่คุณจะไม่ซื้อบ้าง (เช่น ขนม ของเล่น) เพราะฉะนั้นไม่ต้องร้องไห้ หรือลงไปชักดิ้นชักงอถ้าไม่ได้ของอย่างที่ต้องการ เพราะเราคุยกันแล้ว
     
       2.มอบภารกิจให้ลูก
     
       การมอบหมายความรับผิดชอบให้ลูกเวลาคุณออกไปนอกบ้าน สามารถทำให้พวกเขานิ่งและตั้งใจมากขึ้น เช่น ถ้ามีลูกมากกว่า 1 คน พี่คนโตอาจได้รับมอบหมายให้ดูแลน้อง ๆ คอยช่วยคุณพ่อมองทาง ช่วยหยิบของ ฯลฯ หรือถ้าเป็นน้องเล็กๆ ก็สามารถมอบหมายภารกิจให้ได้เช่นกัน เช่น น้องสองขวบก็โตพอที่จะเดินไปหยิบนมที่ตนเองชอบมาให้คุณแม่ได้แล้ว เป็นต้น
     
       3.ของเล่นถูกใจ หยิบไปให้ครบ
     
       นึกถึงเวลาพาลูกขึ้นเครื่องบิน คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ต้องกังวลมากนัก เพราะสายการบินโดยมากจะมีของเล่นของแถมให้กับเด็กเล็กอยู่แล้ว แต่ถ้าหากไม่ได้ขึ้นเครื่องบิน เปลี่ยนเป็นการไปร่วมงานพิธีกับพ่อแม่ก็ไม่ควรลืมหยิบของเล่นชิ้นโปรดของลูกติดไม้ติดมือไปด้วย เช่น หนังสือนิทาน ตุ๊กตา โดยหลักสำคัญในการเลือกของเล่นก็คือ ควรเป็นของเล่นที่ไม่รบกวนผู้อื่น เช่น ตุ๊กตาก็ไม่ควรมีเสียงปี๊บๆ หรือมีเพลง เป็นต้น
     
       4.แผนสำรองต้องมี
     
       ถ้าเกิดนมหมด ถ้าเกิดลูกร้องไห้จนอาเจียน ถ้าเกิด...ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ พ่อแม่หรือคนเลี้ยงควรตระหนักว่ามันสามารถเกิดขึ้นได้ และพ่อแม่ควรเป็นคนที่รู้จักธรรมชาติของเด็กคนนั้นมากที่สุด ดังนั้นในการเดินทาง ควรมีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า เมื่อเกิดสถานการณ์นั้นขึ้นจริงๆ จะได้ไม่ทำให้พ่อแม่หวั่นไหวหรือประสาทเสีย
     
       5.ก่อนอารมณ์เสีย พยายามมองลูกๆ ในแง่ดี
     
       คงมีพ่อแม่หลายคนรู้สึกว่าลูกไม่ได้ดั่งใจยามอยู่นอกบ้าน โดยเฉพาะคนมีลูกเล็กที่มักงอแง ร้องไห้ ขอให้อุ้ม ฯลฯ อยู่บ่อยครั้ง แต่ถ้าหากเรายิ่งมองลูกในแง่ลบมากเท่าไร ความสุขและความสนุกของการเดินทางก็จะถูกบั่นทอนลงไปมากเท่านั้น ดังนั้น ถ้าทำได้ อาจสูดหายใจลึกๆ นับ 1-10 หรือทำอะไรก็ได้ที่ทำให้คุณสามารถมองพวกเขาอย่างเข้าใจ และยิ้มกับลูกๆ ได้อีกครั้ง
     
       6.เข้าใจธรรมชาติของเด็ก
     
       บางครั้งการเข้าใจธรรมชาติของเด็กก็ช่วยให้ความหงุดหงิดบรรเทาลง ธรรมชาติของเด็กมาพร้อมกับความยุกยิกอยู่ไม่สุข หรือหากอยู่นิ่งได้ก็เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่สามารถทำได้นาน ดังนั้น หากพ่อแม่หรือสังคมรอบข้างมาตั้งความหวังว่าเด็กเล็กที่เราพบเจอในโลกภายนอกจะต้องนิ่งสงบราวกับรูปปั้นก็คงเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ อย่างไรก็ดี พ่อแม่ควรเป็นคนทีเข้าใจในจุดนี้มากที่สุด และควรเลือกสถานที่ที่จะพาลูกไปด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์โยเย เช่น หากต้องพาไปร่วมงานสังคมที่เป็นทางการ ในขณะที่ลูกยังเล็กมาก และไม่สามารถอยู่นิ่งได้ ก็ยังไม่ควรพาไป เพราะเด็กจะร้องงอแงจนพ่อแม่ไม่เป็นอันสร้างสังคมได้อย่างแน่นอน
     
       7.เลือกสถานที่ที่ไว้วางใจได้ และต้อนรับครอบครัว
     
       พฤติกรรมการเที่ยวของหลายครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีลูก ครอบครัวของทีมงานเองก็เช่นกัน ทุกวันนี้ เวลาเดินทางไปนอกบ้านทีไร ก็มักจะมองว่าจะพาลูก ๆ ไปเที่ยวที่ไหนเขาถึงจะสนุก ไปกินอะไรเขาถึงจะอร่อย ส่วนความสุขของพ่อแม่ก็อาจไว้ทีหลัง หรือกลายเป็นว่า ถ้าลูกสนุก พ่อแม่ก็สนุกด้วย ดังนั้นจึงควรเลือกสถานที่ หรือร้านที่พ่อแม่ไว้วางใจ หากมีความสนิทสนมกับทางร้านเพราะเคยไปรับประทานบ่อยๆ ในสมัยยังไม่มีลูกก็ยิ่งดี เพราะความเป็นลูกค้าเก่าแก่จะทำให้การบริการเป็นไปอย่างดี และร้านค้าโดยมากมักจะยินดีที่จะได้ทำความรู้จักลูกค้าในรุ่นต่อไป (หรือก็คือลูกของคุณ) ด้วยอยู่แล้ว
     
       8.สอนลูกให้มีน้ำใจ
     
       เรื่องนี้เกิดขึ้นบนรถไฟฟ้าใต้ดิน ช่วงที่ทีมงานโดยสาร ตู้โบกี้ที่ยืนอยู่ มีผู้สูงอายุ (ชาย) ท่านหนึ่งขึ้นมายืนด้วย ในรถไฟขณะนั้น หลายคนกำลังเล่นโทรศัพท์มือถือกันจนไม่สนใจความเป็นไปของสังคมรอบข้าง มีเพียงหญิงสาวคนหนึ่งค่อยๆ ลุกขึ้น และเดินเหมือนจะลงจากรถไฟแต่เลยไปอีกตู้หนึ่ง พอที่นั่งตรงนั้นว่าง บวกกับผู้สูงอายุท่านนั้นคิดว่าน้องผู้หญิงลงจากรถไฟไปแล้ว ก็เลยนั่งลง
     
       สิ่งนี้ประทับใจทีมงานอย่างมาก เพราะโดยมากแล้ว ผู้สูงอายุ (ผู้ชาย) มักจะไม่ค่อยนั่งเท่าไร หากมีผู้หญิงที่เด็กกว่าเสียสละที่นั่งให้ เลยทำให้เธอทำเหมือนเดินลงจากรถไฟ แต่แท้จริงแล้วคือการเสียสละที่นั่งให้นั่นเอง แต่ความประทับใจยังไม่จบ เพราะต่อมาไม่นาน ก็มีผู้โดยสารเด็กขึ้นมาอีก และทั้งโบกี้ก็ไม่มีใครเสียสละที่นั่งให้เด็กเลยเหมือนเช่นเคย เว้นแต่ชายชราคนนั้นที่ลุกขึ้นให้เด็กนั่งอย่างเงียบๆ
     
       บทสรุปของเรื่องนี้ ถูกสรุปโดยครอบครัวหนึ่งที่อยู่ในตู้รถไฟเดียวกัน เป็นพ่อกับลูกชายที่เห็นเหตุการณ์ทั้งหมดตั้งแต่ต้นเหมือนทีมงาน ผู้เป็นพ่อสอนลูกว่า เวลาคนเราได้รับน้ำใจจากใคร เขาก็จะถ่ายทอดความมีน้ำใจนั้นต่อไปยังผู้อื่น
     
       9.ดูแลเรื่องมารยาท
     
       เรื่องสุดท้ายและสำคัญที่สุดหนีไม่พ้น การมีมารยาท เพราะสาเหตุหนึ่งที่สังคมค่อนข้างไม่พอใจในตัวลูกค้ากลุ่มครอบครัวก็คือ การไม่มีมารยาท ปล่อยเด็กให้เล่นจนระรานความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เด็กบางคนไปแหย่แขกโต๊ะข้างๆ โดยที่พ่อแม่ไม่ได้เอ่ยปากเตือนทั้งที่เห็นอยู่ทนโท่ บางคนก็โยนจาน โยนช้อน เทขวดเครื่องปรุงเล่น ปีนขึ้นบนโต๊ะอาหาร สิ่งเหล่านี้พ่อแม่ต้องควบคุมให้ได้
     
       การพาลูกออกนอกบ้านเป็นสิ่งที่พ่อแม่ยุคใหม่นิยมทำกันมากขึ้น เด็กยุคนี้จึงมีโอกาสได้พบเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้เร็วกว่าเด็กในอดีต แต่ไม่ใช่แค่การพบเห็นเพียงอย่างเดียว พวกเขากำลังเรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมไปด้วย หากพ่อแม่ไม่ตระหนักในสิทธิ และความเป็นส่วนตัวของคนอื่น ก็เป็นไปได้ว่า เมื่อลูกโตขึ้นไป พวกเขาก็อาจจะจดจำพฤติกรรมพ่อแม่ไปใช้สร้างความเดือดร้อนให้สังคม ซึ่งถึงตอนนั้น แม้จะอยากแก้ไข แต่ก็อาจสายจนเกินการณ์แล้วก็เป็นได้

                                                                  
  ที่มา
                                                                                                    www.manager.co.th




สาเหตุของเด็กที่ก้าวร้าว





                                                     







เด็กก้าวร้าว อาละวาด

เมื่อไรถึงเรียกว่า ก้างร้าว อาละวาด

                เด็กแต่ละคนมีการตอบสนองแสดงพฤติกรรม และอารมณ์แตกต่างกัน เมื่อไรเด็กแสดงพฤติกรรมอารมณ์ที่ทำร้ายผู้อื่น   ทำลายข้าวของ   หรือ ทำร้ายตนเอง ทั้งการแสดงวาจา หรือท่าทางซึ่งมีผลต่อร่างกาย ทรัพย์สิน ละจิตใจถือว่าเป็นการก้าวร้าว อาละวาด เช่น เด็กขว้างปาของ เจ้าอารมณ์ ทำร้ายสัตว์ ชดต่อยกับเพื่อน


ก้าวร้าว อาละวาดตามวัย

            ก้าวร้าว อาละวาดแบบนี้เกิดในเด็กเล็กวัย 2-5 ปี ยังเป็นวัยที่พัฒนาการทางอารมณ์ สังคมจะยึดตนเองเป็นหลัก ขาดการควบคุมอารมณ์ตนเอง หรือเด็กบางคนมีพื้นเพทางอารมณ์ที่เด็กเลี้ยงยาก ปรับตัวยาก จึงเกิดความขับข้องใจและแสดงออกโดยการอาละวาดได้บ่อย เช่น เด็ก 2 ขวบแย่งของเล่นจากเด็กคนอื่น เด็ก 3 ขวบลงไปนอนอกับพื้นร้องเสียงดัง เพื่อจะได้เล่น ถึงแม้จะเป็นก้าวร้าวตามวัย พ่อแม่ควรที่จะช่วยเหลือปรับพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก


ก้าวร้าว อาละวาดเพราะภาวะทางสมองและชีวภาพ

          ก้าวร้าวแบบนี้มีสาเหตุมาจากความบกพร่องทางชีวภาพ ร่างกาย เมื่อมีความผิดปกติที่รบกวนสมองส่วนที่ควบคุมพฤติกรรม และอารมณ์ ก็จะทำให้เกิดความก้าวร้าว ดังเช่น

                -บกพร่องสารเคมีในสมอง เช่น โรคสมาธิสั้น

            -ความไม่สมบูรณ์ของสมอง เช่น โรคออติสติก บกพร่องทางสติปัญญา สมองพิการ ลมชัก

            -สมองถูกกระทบกระเทือน เช่น หลังเป็นไข้สมองอักเสบ

            -ยากระตุ้นสมอง เช่น ยาบ้า

ลักษณะของความก้าวร้าวในกลุ่มนี้จะเป็นได้ทั้งเริ่มเป็น หรือเป็นมานาน แต่จะสังเกตุว่าพฤติกรรมก้าวร้าวจะรุนแรงไม่สมเหตุต่อสิ่งกระตุ้น


ก้าวร้าว อาละวาดจากสภาวะจิตใจ

          เด็กและวัยรุ่น ที่เครียด กังวลใจ ซึมเศร้าหรือมีความคับข้องใจทางอารมณ์ ขาดความสุขด้วยวุฒิภาวะที่ยังเป็นเด็กอยู่ จึงระบายความรู้สึกโดย ก้าวร้าว อาละวาด ต่อต้าน ไม่สุภาพ โดยมากเด็กจากสาเหตุนี้จะมีอาการทางอารมณ์อื่นร่วมด้วย เช่น สีหน้าไม่มีความสุข ปรับตัวยากกับเพื่อน ฯลฯ


ก้าวร้าว อาละวาดจากการเลี้ยงดู

          เด็กที่พ่อแม่เลี้ยงดูตามใจ ขาดกฎเกณฑ์ วินัย ขาดการสอนหรือสื่อความหมาย เมื่อทำความผิดถูกลงโทษหรือเห็นตัวอย่างแก้ปัญหาที่รุนแรงทั้งกายและใจ ถูกยั่วยุอารมณ์บ่อยๆจะทำให้เกิดความก้าวร้าว การเลี้ยงดูจึงมีบทบาทสำคัญมากต่อการป้องกันและการแก้ไขพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม


ก้าวร้าวจากสภาวะแวดล้อม

          จากการศึกษาพบว่า เด็กที่ดูโทรทัศน์นานเกิน 2 ชั่วโมงต่อวันจะหงุดหงิด ก้าวร้าว ส่วนเด็กที่เห็นภาพรุนแรงทั้งจากชีวิตจริง หรือตามสื่อต่างๆหรทอเกมส์คอมพิวเตอร์จะซึมซับความรุนแรง เสียนแบบเห็นเป็นเรื่องปกติ และแสดงออกด้วยความก้าวร้าวได้


พ่อแม่ช่วยเหลือเด็กก้าวร้าวได้อย่างไร

1.      ควบคุมอารมณ์อย่าก้าวร้าวตอบ ถือเสียว่าเป็นโอกาสที่เราจะได้สอนลูก

2.      ถ้าทำร้ายตนเอง ผู้อื่นหรือข้าวของให้หยุดพฤติกรรมก้าวร้าวด้วยความสงบ หนักแน่น เอาจริงเช่น จับมือเด็กไม่ให้ปาของ หรือตีคนอื่น

3.      ถ้าอาละวาดให้หยุดความสนใจ จนกว่าเด็กสงบ พร้อมสื่อให้เด็กรุว่าพ่อแม่จะเข้ามาหา เมื่อเขาสงบแล้ว

4.      ถ้ารบกวนผู้อื่นให้แยกออกมาอยู่ในมุมสงบ(Time Out) ( 1 นาท ต่อ อายุ 1 ปี ) พร้อมสื่อให้เด็กเข้าใจว่าการรบกวนผู้อื่นเป็นสิ่งไม่สมควร แต่เด็กจะกลับเข้าร่วมกิจกรรมใหม่ได้ เมื่อสงบไม่รบกวนผู้อื่น

5.      พ่อแม่ต้องร่วมแก้ไขด้วยวิธีเดียวกัน ไม่ขัดแย้ง

6.      เมื่อเด็กสงบ รับฟังความรู้สึก ช่วยให้เด็กหาวิธีการที่เหมาะสมในการแสดงออก

7.      การสอนให้บอกถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ใช่ตำหนิตัวเด็ก เช่น “แม่รักหนูแต่ไม่ชอบการตีคนอื่น”

8.      ช่วงปกติหมั่นฝึกวินัย ความรับผิดชอบ ร่วมทำกิจกรรมกับลูกหาโอกาสชื่นชมความสามารถ

                                          ที่มา
                              www.rcpsycht.org


ฝึกเด็กอย่าวไรไม่ให้ก้าวร้าว


เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ใช้ความรุนแรง เมื่อโตขึ้น มีสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้างคะ
สาเหตุจากตัวเด็กเองที่เค้ามีพื้นฐานที่ควบคุมตัวเองได้ยาก อันที่สองอาจจะเป็นสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้หล่อหลอมให้เด็กควบคุมตัวเองได้ ทำให้เขามีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว คือเด็กบางคนมีโอกาสที่ก้าวร้าว จากยีนส์ จากพันธุกรรม แต่สิ่งแวดล้อมที่ทำให้ก้าวร้าวก็คือสิ่งแวดล้อมไม่ได้หล่อหลอมให้เขามีพฤติกรรมที่ดี หรือสิ่งแวดล้อมอาจจะเป็นตัวกระตุ้น เช่นเขาอาจจะเป็นเด็กที่ควบคุมตัวเองได้ดี แต่สิ่งแวดล้อมอาจจะเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมเหล่านั้น


พฤติกรรมเลียนแบบความรุนแรง จากสื่อต่างๆ เช่น ทีวี เกม มีผลกับพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กมากน้อยแค่ไหนคะสื่อต่างๆ ก็ถือว่าเป็นสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งที่หากเด็กดื่มด่ำ และถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา และมองเห็นว่าเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน เด็กก็อาจจะเกิดการเลียนแบบ ยิ่งถ้าเขาไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ดี ก็จะทำพฤติกรรมเลียนแบบตามสื่อที่เขาได้รับมา ก็ถือว่าเป็นปัจจัยที่อาจเกิดขึ้นได้จากสิ่งแวดล้อม


เรามีวิธีสังเกตสัญญาณความรุนแรงในวัยเด็กอย่างไรบ้าง ที่ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนที่ต้องระวัง เด็กจะเป็นเด็กที่เอาแต่ใจ ควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ อยากได้อะไรก็ต้องได้ ไม่ได้ดังใจเวลาที่ถูกขัดใจก็จะมีอาการรุนแรงกว่าเด็กคนอื่นทั่วๆ ไป จะเป็นอันหนึ่งที่พอจะบอกได้บ้าง

ถ้าหากโตขึ้น เขายังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกของตัวเองให้มันเหมาะสมได้ ก็มีโอกาสที่จะใช้ความรุนแรง แต่ว่าเด็กหลายคนถ้าหากว่าเขาไม่ได้แสดงอาการออกมาให้เห็นก็อาจจะมีความรู้สึกเก็บกด เก็บเอาไว้ แล้วพอวันหนึ่งที่เขามีโอกาสจะแสดงออกจากการถูกกระตุ้นจากสิ่งต่างๆ รอบตัว ก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นในภาวะที่เขาถูกกระตุ้นได้เหมือนกันครับ

วิธีดูแลอบรมลูกเกี่ยวกับพฤติกรรมในช่วยวัยเด็ก พ่อแม่มีวิธีสอนลูกอย่างไรบ้างคะ
ถ้าเป็นเล็กๆ อย่าสอนด้วยคำพูดอย่างเดียว ต้องกำกับให้เขาเรียนรู้ด้วยว่าพฤติกรรมแบบไหนที่มันเหมาะสมไม่เหมาะสม เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกมีความรุนแรง หรือมีความรู้สึกที่ไม่สามารถจะควบความอารมณ์ความรู้สึกตัวเองให้เหมาะสมได้ พ่อแม่ต้องฝึกให้ลูกควบคุม

                                                               ที่มา 
                                                    www.momypedia.com












ความหมาย มารยาท

          มารยาท  หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ

ขอบข่าย มารยาทไทย

          มารยาทไทยครอบคลุมถึงกิริยา วาจาต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ


ลำดับความสำคัญมารยาทไทย

มารยาทไทย เป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย ควรกำหนดขึ้นไว้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
๗. การแสดงกิริยาอาการ
๙. การให้และรับบริการ
๑๐. การทักทาย
๑๑. การสนทนา
๑๒. การใช้คำพูด
๑๓. การฟัง
๑๔. การใช้เครื่องมือสื่อสาร
๑๕. การประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

                                          ที่มา 
                              guru.sanook.com









วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

ประวัติส่วนตัว


 ประวัติส่วนตัว
ชื่อเด็กหญิง เสาวลักษณ์  นามสกุล พเนจร  ชื่อเล่น  เป้า  เกิดวันเสาร์ ที่ 24 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2543    ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่  ร.ร.ชะอวด  ชั้นม.2/4                                            
บิดาชื่อ นายไพรัช  จันทร์มาต  อาชีพ  รับจ้างทั่วไป
มารดาชื่อ นางพรทิพย์  พเนจร  อาชีพ  ค้าขาย
มีพี่น้อง 2 คน สถานที่เกิด  โรงพยาบาลชะอวด



                                    



ชื่อเด็กหญิง  ชุติมา   นามสกุล    ชายจันทร์    ชื่อเล่น    ธิ
เกิดวันพฤหัสบดี  ที่ 30 เดือน  พฤศจิกายน   พ.ศ. 2543       ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่ โรงเรียนชะอวด
ชั้น ม.2/4   มีพี่น้อง  3  คน  เป็นบุตรคนที่  3   สถานที่เกิด   โรงพยาบาลพัทลุง
บิดาชื่อ นาย ประคิ่น  ชายจันทร์  อาชีพ ทำสวน
มารดาชื่อ นาง หนูคลาย  ชายจันทร์  อาชีพ  ทำสวน




                                Chutima Chaichan

ปัญหาต่างๆ 2

                  

ปัญหาต่างๆ

1. ทำไมต้องมีขยะในน้ำ

2. ทำไมผู้คนต้องทิ้งขยะลงในน้ำ

3. ทำไมผู้คนไม่ดูแม่น้ำ

4. ทำไมขยะในน้ำจึงมีมาก

5. ทำไมไม่ทำขยะให้มีค่า






1. ทำไมประเทศไทยในอดีตถึงมีป่าไม้มากกว่าปัจจุบัน

2. ทำไมป่าไม้จึงน้อยลง

3. ทำไมใครไปตัดไม้

4. ทำไมต้องตัดไม้ทำลายป่า

5. ทำไมไม่ช่วยกันปลูกป่า

การตั้งคำถาม

  การตั้งคำถาม


1.ทำไมปัญหาป่าไม้จึงมากขึ้น

2.ทำไมเด็กในปัจจุบันจึงไม่มีมารยาท

3.มลพิษในอากาศเกิดขึ้นได้อย่างไร


เลือกคำถามข้อ  1    เหตุผลที่เลือกเพราะ  การตัดไม้ทำลายป่าในปัจจุบันมีการทำลายป่าไม้มากขึ้นจากอดีตหลายเท่าตัวและอยากรู้ว่าป่าไม้ที่ควรสงวนไว้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เลือก
ข้อ  1  มาหาคำตอบ