การตั้งสมมติฐาน
1. ทำไมเด็กในปัจจุบันถึงมีมารยาทที่ไม่ดี
1. เด็กในปัจจุบันที่มีมารยาทไม่ดีอาจเป็นเพราะค่านิยมแบบผิดๆ หรือทำตามแบบอย่างที่ไม่ดีมากกว่ากัน
| ||
เด็กก้าวร้าว อาละวาด
เมื่อไรถึงเรียกว่า ก้างร้าว อาละวาด
เด็กแต่ละคนมีการตอบสนองแสดงพฤติกรรม และอารมณ์แตกต่างกัน เมื่อไรเด็กแสดงพฤติกรรมอารมณ์ที่ทำร้ายผู้อื่น ทำลายข้าวของ หรือ ทำร้ายตนเอง ทั้งการแสดงวาจา หรือท่าทางซึ่งมีผลต่อร่างกาย ทรัพย์สิน ละจิตใจถือว่าเป็นการก้าวร้าว อาละวาด เช่น เด็กขว้างปาของ เจ้าอารมณ์ ทำร้ายสัตว์ ชดต่อยกับเพื่อน
ก้าวร้าว อาละวาดตามวัย
ก้าวร้าว อาละวาดแบบนี้เกิดในเด็กเล็กวัย 2-5 ปี ยังเป็นวัยที่พัฒนาการทางอารมณ์ สังคมจะยึดตนเองเป็นหลัก ขาดการควบคุมอารมณ์ตนเอง หรือเด็กบางคนมีพื้นเพทางอารมณ์ที่เด็กเลี้ยงยาก ปรับตัวยาก จึงเกิดความขับข้องใจและแสดงออกโดยการอาละวาดได้บ่อย เช่น เด็ก 2 ขวบแย่งของเล่นจากเด็กคนอื่น เด็ก 3 ขวบลงไปนอนอกับพื้นร้องเสียงดัง เพื่อจะได้เล่น ถึงแม้จะเป็นก้าวร้าวตามวัย พ่อแม่ควรที่จะช่วยเหลือปรับพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก
ก้าวร้าว อาละวาดเพราะภาวะทางสมองและชีวภาพ
ก้าวร้าวแบบนี้มีสาเหตุมาจากความบกพร่องทางชีวภาพ ร่างกาย เมื่อมีความผิดปกติที่รบกวนสมองส่วนที่ควบคุมพฤติกรรม และอารมณ์ ก็จะทำให้เกิดความก้าวร้าว ดังเช่น
-บกพร่องสารเคมีในสมอง เช่น โรคสมาธิสั้น
-ความไม่สมบูรณ์ของสมอง เช่น โรคออติสติก บกพร่องทางสติปัญญา สมองพิการ ลมชัก
-สมองถูกกระทบกระเทือน เช่น หลังเป็นไข้สมองอักเสบ
-ยากระตุ้นสมอง เช่น ยาบ้า
ลักษณะของความก้าวร้าวในกลุ่มนี้จะเป็นได้ทั้งเริ่มเป็น หรือเป็นมานาน แต่จะสังเกตุว่าพฤติกรรมก้าวร้าวจะรุนแรงไม่สมเหตุต่อสิ่งกระตุ้น
ก้าวร้าว อาละวาดจากสภาวะจิตใจ
เด็กและวัยรุ่น ที่เครียด กังวลใจ ซึมเศร้าหรือมีความคับข้องใจทางอารมณ์ ขาดความสุขด้วยวุฒิภาวะที่ยังเป็นเด็กอยู่ จึงระบายความรู้สึกโดย ก้าวร้าว อาละวาด ต่อต้าน ไม่สุภาพ โดยมากเด็กจากสาเหตุนี้จะมีอาการทางอารมณ์อื่นร่วมด้วย เช่น สีหน้าไม่มีความสุข ปรับตัวยากกับเพื่อน ฯลฯ
ก้าวร้าว อาละวาดจากการเลี้ยงดู
เด็กที่พ่อแม่เลี้ยงดูตามใจ ขาดกฎเกณฑ์ วินัย ขาดการสอนหรือสื่อความหมาย เมื่อทำความผิดถูกลงโทษหรือเห็นตัวอย่างแก้ปัญหาที่รุนแรงทั้งกายและใจ ถูกยั่วยุอารมณ์บ่อยๆจะทำให้เกิดความก้าวร้าว การเลี้ยงดูจึงมีบทบาทสำคัญมากต่อการป้องกันและการแก้ไขพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม
ก้าวร้าวจากสภาวะแวดล้อม
จากการศึกษาพบว่า เด็กที่ดูโทรทัศน์นานเกิน 2 ชั่วโมงต่อวันจะหงุดหงิด ก้าวร้าว ส่วนเด็กที่เห็นภาพรุนแรงทั้งจากชีวิตจริง หรือตามสื่อต่างๆหรทอเกมส์คอมพิวเตอร์จะซึมซับความรุนแรง เสียนแบบเห็นเป็นเรื่องปกติ และแสดงออกด้วยความก้าวร้าวได้
พ่อแม่ช่วยเหลือเด็กก้าวร้าวได้อย่างไร
1. ควบคุมอารมณ์อย่าก้าวร้าวตอบ ถือเสียว่าเป็นโอกาสที่เราจะได้สอนลูก
2. ถ้าทำร้ายตนเอง ผู้อื่นหรือข้าวของให้หยุดพฤติกรรมก้าวร้าวด้วยความสงบ หนักแน่น เอาจริงเช่น จับมือเด็กไม่ให้ปาของ หรือตีคนอื่น
3. ถ้าอาละวาดให้หยุดความสนใจ จนกว่าเด็กสงบ พร้อมสื่อให้เด็กรุว่าพ่อแม่จะเข้ามาหา เมื่อเขาสงบแล้ว
4. ถ้ารบกวนผู้อื่นให้แยกออกมาอยู่ในมุมสงบ(Time Out) ( 1 นาท ต่อ อายุ 1 ปี ) พร้อมสื่อให้เด็กเข้าใจว่าการรบกวนผู้อื่นเป็นสิ่งไม่สมควร แต่เด็กจะกลับเข้าร่วมกิจกรรมใหม่ได้ เมื่อสงบไม่รบกวนผู้อื่น
5. พ่อแม่ต้องร่วมแก้ไขด้วยวิธีเดียวกัน ไม่ขัดแย้ง
6. เมื่อเด็กสงบ รับฟังความรู้สึก ช่วยให้เด็กหาวิธีการที่เหมาะสมในการแสดงออก
7. การสอนให้บอกถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ใช่ตำหนิตัวเด็ก เช่น “แม่รักหนูแต่ไม่ชอบการตีคนอื่น”
8. ช่วงปกติหมั่นฝึกวินัย ความรับผิดชอบ ร่วมทำกิจกรรมกับลูกหาโอกาสชื่นชมความสามารถ
ที่มา
www.rcpsycht.org
ฝึกเด็กอย่าวไรไม่ให้ก้าวร้าว
เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ใช้ความรุนแรง เมื่อโตขึ้น มีสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้างคะ
สาเหตุจากตัวเด็กเองที่เค้ามีพื้นฐานที่ควบคุมตัวเองได้ยาก อันที่สองอาจจะเป็นสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้หล่อหลอมให้เด็กควบคุมตัวเองได้ ทำให้เขามีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว คือเด็กบางคนมีโอกาสที่ก้าวร้าว จากยีนส์ จากพันธุกรรม แต่สิ่งแวดล้อมที่ทำให้ก้าวร้าวก็คือสิ่งแวดล้อมไม่ได้หล่อหลอมให้เขามีพฤติกรรมที่ดี หรือสิ่งแวดล้อมอาจจะเป็นตัวกระตุ้น เช่นเขาอาจจะเป็นเด็กที่ควบคุมตัวเองได้ดี แต่สิ่งแวดล้อมอาจจะเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมเหล่านั้น
พฤติกรรมเลียนแบบความรุนแรง จากสื่อต่างๆ เช่น ทีวี เกม มีผลกับพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กมากน้อยแค่ไหนคะสื่อต่างๆ ก็ถือว่าเป็นสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งที่หากเด็กดื่มด่ำ และถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา และมองเห็นว่าเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน เด็กก็อาจจะเกิดการเลียนแบบ ยิ่งถ้าเขาไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ดี ก็จะทำพฤติกรรมเลียนแบบตามสื่อที่เขาได้รับมา ก็ถือว่าเป็นปัจจัยที่อาจเกิดขึ้นได้จากสิ่งแวดล้อม
เรามีวิธีสังเกตสัญญาณความรุนแรงในวัยเด็กอย่างไรบ้าง ที่ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนที่ต้องระวัง เด็กจะเป็นเด็กที่เอาแต่ใจ ควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ อยากได้อะไรก็ต้องได้ ไม่ได้ดังใจเวลาที่ถูกขัดใจก็จะมีอาการรุนแรงกว่าเด็กคนอื่นทั่วๆ ไป จะเป็นอันหนึ่งที่พอจะบอกได้บ้าง
ถ้าหากโตขึ้น เขายังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกของตัวเองให้มันเหมาะสมได้ ก็มีโอกาสที่จะใช้ความรุนแรง แต่ว่าเด็กหลายคนถ้าหากว่าเขาไม่ได้แสดงอาการออกมาให้เห็นก็อาจจะมีความรู้สึกเก็บกด เก็บเอาไว้ แล้วพอวันหนึ่งที่เขามีโอกาสจะแสดงออกจากการถูกกระตุ้นจากสิ่งต่างๆ รอบตัว ก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นในภาวะที่เขาถูกกระตุ้นได้เหมือนกันครับ วิธีดูแลอบรมลูกเกี่ยวกับพฤติกรรมในช่วยวัยเด็ก พ่อแม่มีวิธีสอนลูกอย่างไรบ้างคะ
ถ้าเป็นเล็กๆ อย่าสอนด้วยคำพูดอย่างเดียว ต้องกำกับให้เขาเรียนรู้ด้วยว่าพฤติกรรมแบบไหนที่มันเหมาะสมไม่เหมาะสม เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกมีความรุนแรง หรือมีความรู้สึกที่ไม่สามารถจะควบความอารมณ์ความรู้สึกตัวเองให้เหมาะสมได้ พ่อแม่ต้องฝึกให้ลูกควบคุม
ที่มา
www.momypedia.com
มารยาท หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ ขอบข่าย มารยาทไทย
มารยาทไทยครอบคลุมถึงกิริยา วาจาต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ
ลำดับความสำคัญมารยาทไทย
มารยาทไทย เป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย ควรกำหนดขึ้นไว้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
๒. การยืน
๓. การเดิน
๔. การนั่ง
๕. การนอน
๗. การแสดงกิริยาอาการ
๙. การให้และรับบริการ
๑๐. การทักทาย
๑๑. การสนทนา
๑๒. การใช้คำพูด
๑๓. การฟัง
๑๔. การใช้เครื่องมือสื่อสาร
๑๕. การประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
ที่มา
guru.sanook.com
|